ปัจจุบันผู้สูงอายุในสังคมไทยเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ตั้งแต่ พ.ศ.2547 และคาดว่าจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2570 โรงพยาบาลธนบุรี มีผู้ป่วยสูงอายุเข้ามารับบริการในคลินิคผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยใน เป็นจำนวนมาก
ในปี พ.ศ.2558 โรงพยาบาล เพิ่มศักยภาพจาก 5 ศูนย์ยุทธศาสตร์ โดยเพิ่ม Geriatric Clinic โดยเน้นการบริการและการรักษาพยาบาล ผู้ป่วยสูงอายุเริ่มที่ Ward 10 B
กลุ่มโรคที่พบได้บ่อยในคลินิกผู้ป่วยสูงอายุ 4 กลุ่มโรคที่สำคัญ ได้แก่
1. กลุ่มโรคในระบบกล้ามเนื้อ กระดูก และ ข้อ (Musculosdeletal disorder) เช่น กล้ามเนื้อลีบ /ฝ่อ (Sarcopenia) , การเดินไม่ปกติ (Giant disturbance) ,กระดูกพรุน (Osteoporosis) ,หกล้มบ่อย (Fall)
2. กลุ่มโรคที่เกี่ยวกับภาวะหลอดเลือดแดงแข็งกระด้าง (Atherosclerosis) เช่น ความดันโลหิตสูง (HT), ไขมันในเลือดสูง (Dyslipidemia)
3. กลุ่มโรคที่เกิดจากความเสื่อมของระบบประสาท (Neurodegenerative disease) เช่น สมองเสื่อม (Dementia / Alzheimer) ,เวียนหัว (Vertigo, Postural Hypotension) ภาวะสับสนเฉียบพลัน (Delirium) ,โรคพาร์กินสัน (Parkinson's disease), แขนขาอ่อนแรงแบบครึ่งซีก (Hemiparisis)
4. กลุ่มโรคอื่นๆ เช่น ตามัว (Visual Impairment) ,หูไม่ค่อยได้ยิน (Hearing Impairment), ฟันผุ (Dental Caries), ภาวะซึมเศร้า (Depression), ขาดสารอาหาร (Malnutrition), ขาดน้ำ (Dehydration), ปัสสาวะราด (Urine Incontinence) ทั้งนี้ไม่รวมถึงผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะวิกฤติที่มีอาการต้องเฝ้าระวังใกล้ชิด การดูแลที่เหมาะสมปลอดภัย คือ การดูแลรักษาแบบองค์รวม (Holistic care) จึงต้องพยายามรักษาสมดุลของทุกระบบอวัยวะ ให้ผู้ป่วยสามารถอยู่ได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามควรแก่อัตภาพ
►ผู้ป่วยนอก รับการตรวจรักษาโรคทางอายุรกรรมทั่วไป โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ที่มีกลุ่มอาการสูงอายุ (Geriatric syndrome) ได้แก่
►ผู้ป่วยใน